1.1 ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ (Computer) ตามความหมายของพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำ หน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทำคณิตศาสตร์"
คอมพิวเตอร์ หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์ เป็นเครื่องจักรแบบ สั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือ คณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจากรูปแบบต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทาง ตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป
1.2 ประเภทของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน มีการแบ่งประเภทตามขนาดออกเป็น 6 ประเภทคือ1.2.1 ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)
เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดและมีขีดความสามารถสูงที่สุด ภายในประกอบไปด้วย
หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU (Central Process Unit) นับพันตัวที่สามารถคำนวณด้วยความเร็วหลาย
ล้านคำสั่งต่อวินาที จัดเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพงที่สุด และเร็วที่สุดตามความหมายของซุปเปอร์
คอมพิวเตอร์
รูป 1.1 แสดงเครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์
ประเภทของงาน เหมาะกับงานที่มีการประมวลผลข้อมูลปริมาณมาก เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การค้นคว้าด้านอากาศยานและอาวุธยุทโธปกรณ์ การสำรวจสามะโนประชากร งานพยากรณ์อากาศ การออกแบบอากาศยาน การสร้างแบบจำลองระดับโมเลกุลการวิจัยนิวเคลียร์ และการทำลายรหัสลับ
1.2.2 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)
เครื่องเมนเฟรมเป็นเครื่องที่ได้รับความนิยมใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ทั่วๆไปจัดเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพรองลงมาจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก แต่ยังต่างกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ คือปกติสามารถทำงานได้รวดเร็ว หลายสิบล้านค าสั่งต่อวินาที สำหรับสาเหตุที่ได้ชื่อว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็เพราะครั้งแรกที่สร้างคอมพิวเตอร์ลักษณะนี้ได้สร้างไว้บนฐานรองรับ ที่เรียกว่า คัสซี่ (Chassis) โดยมีชื่อเรียกฐานรองรับนี้ว่า เมนเฟรม
รูป 1.2 แสดงเครื่องเฟรมคอมพิวเตอร์
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ความเหมาะกับการใช้งาน ทั้งในด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และ
ธุรกิจ โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมากๆ เช่น งานธนาคาร ซึ่งต้องตรวจสอบบัญชีลูกค้าหลายคน งานของสำนักงานทะเบียนราษฎร์ ที่เก็บรายชื่อประชาชนประมาณ 60 ล้านคน พร้อมรายละเอียดต่างๆ งานจัดการบันทึกการส่งเงิน ของผู้ประกับตนหลายล้านคน ของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน คอมพิวเตอร์เมนเฟรม ที่มีชื่อเสียงมาก คือ เครื่องของบริษัท IBM ในปัจจุบัน ความนิยมใช้เครื่องเมนเฟรม ในหน่วยงานต่างๆ ได้ลดน้อยลงมาก เพราะราคาเครื่องค่อนข้างแพง การใช้งานค่อนข้างยาก และมีผู้รู้ด้านนี้ค่อนข้างน้อย สถานศึกษาที่มีเครื่องระดับนี้ไว้ใช้สอน ก็มีเพียงไม่กี่แห่งเหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งคือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กกว่า ได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะมากขึ้น จนสามารถทำงานได้เท่ากับเครื่องเมนเฟรม แต่ราคาถูกกว่าอย่างไรก็ตามเครื่องเมนเฟรม ยังคงมีความจำเป็น ในงานที่ต้องใช้ข้อมูลมากๆ พร้อมๆ กันอยู่ต่อไปอีก ทั้งนี้เพราะ เครื่องเมนเฟรมสามารถพ่วงต่อ และควบคุมอุปกรณ์รอบข้าง (Peripheral) เช่น เครื่องพิมพ์
เครื่องขับเทปแม่เหล็ก เครื่องขับจานแม่เหล็ก ฯลฯ ได้เป็นจำนวนมากในเวลาเดียวกัน
1.2.3 มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะน้อยกว่าเครื่องเมนเฟรม คือทำงานได้ช้ากว่า และควบคุม
อุปกรณ์รอบข้างได้น้อยกว่า จุดเด่นสำคัญของเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ก็คือ ราคาย่อมเยากว่าเมนเฟรมการใช้งานก็ไม่ต้องใช้บุคลากรมากนัก นอกจากนั้น ยังมีผู้ที่รู้วิธีใช้มากกว่าด้วย เพราะเครื่องประเภทนี้มีใช้ตาม โรงแรม โรงพยาบาล รวมทั้งในสถานศึกษาดับอุดมศึกษาหลายแห่ง
รูป 1.3 แสดงเครื่องมินิคอมพิวเตอร์
มินิคอมพิวเตอร์ เหมาะกับงานหลายประเภท คือใช้ได้ทั้งในงานวิศวกรรม วิทยาศาสตร์อุตสาหกรรม มีใช้ตามหน่วยงานราชการระดับกรมเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับความนิยมใช้กันมีบริษัท Digital Equipment Corporation หรือ DEC เครื่อง Unisys ของบริษัท Unisys เครื่อง NECของบริษัท NEC เครื่อง Nixdorf ของบริษัท Siemens-Nixdorf
1.2.4 เวิร์กสเตชั่น (Workstation)
เวิร์กสเตชั่นถูกออก แบบมาให้เป็นคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะที่มีความสามารถในการค านวน
ด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรืองานอื่นๆที่เน้นการแสดงผลด้านกราฟฟิกต่าง ๆ เช่นการนำมาช่วยออกแบบภาพกราฟฟิกในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อออกแบบชิ้นส่วนใหม่ ๆ เป็นต้นซึ่งจากการที่ต้องทำงานกราฟฟิกที่มีความละเอียดสูงทำให้เวิร์คสเตชั่นใช้หน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพมากรวมทั้งมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จำนวนมากด้วย มีผู้ใช้บางกลุ่มเรียกเครื่องระดับเวิร์คสเตชั่นนี้ว่าซูเปอร์ไม โคร (super micro) เพราะออกแบบมาให้ใช้งานแบบตั้งโต๊ะแต่ชิปที่ใช้ทำงานนั้นแตกต่างกันมากเนื่องจาก เวิร์คสเตชั่นส่วนมากใช้ชิปประเภท RISC (reduce instruction set computer) ซึ่งเป็นชิปที่ลดจำนวนคำสั่งที่สามารถใช้สั่งงานให้เหลือเฉพาะที่จำเป็นเพื่อให้สามารถทำงานได้ด้วยความเร็วสูง
1.2.5 ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)
เป็นนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กและใช้ทำงานคนเดียว นิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าคอมพิวเตอร์
ส่วนบุคคล (Personal Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ใช้งานที่พบได้อย่างแพร่หลาย จัดว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทั้งระบบใช้งานครั้งละเครื่อง หรือใช้งานในลักษณะเครือข่าย แบ่งได้หลายลักษณะตามขนาด เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบตั้งโต๊ะ(Personal Computer) หรือแบบพกพา (Portable Computer) ลักษณะของไมโครคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งได้ เป็นรูปแบบย่อยดังนี้
1) เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานทั่วไป ที่เรียกว่า Desktop Models รวมถึง tower
รูป 1.4 แสดง Desktop Models รวมถึง Tower
นอกจากนี้ ยังมีคอมพิวเตอร์แบบผู้ใช้คนเดียวที่ได้รับการออกแบบให้สามารถพกพาติดตัวได้สะดวก เช่นคอมพิวเตอร์โน้ตบุค (Notebook computer) คอมพิวเตอร์ปาล์มทอป (Palmtop computer) และ PDA (Personal Digital Assistant) ซึ่งคอมพิวเตอร์เหล่านี้ จัดได้ว่าเป็นเครืองไมโครคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งขนากเล็กน้ำหนักเบา และมีรูปลักษณ์ที่เหมาะกับการพกพา
2) คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก หรือ แล็ปท็อป เป็นพีซีแบบเคลื่อนที่ได้ มีน้ำหนักเบา มีหน้าจอ
บาง หรือมักจะเรียกว่าคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กเพราะมีขนาดเล็กสามารถทำงานด้วยแบตเตอรี่ สามารถนำไปใช้งานได้ทุกที่ โดยจะมีส่วนหน้าจอรวมกับส่วนแป้นพิมพ์ สามารถกพับได้ และน้ำหนักเบา
รูป 1.5 แสดง Notebook computer
คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
(1) อัลตร้าบุ๊ก (Ultra book) เป็นโน๊ตบุ๊กที่เน้นความบางและน้ าหนักเบา มีจอภาพ
ขนาดใหญ่ตั้งแต่ 13-17 นิ้ว ส าหรับความบางของตัวเครื่องจะบางน้อยกว่า 21 มม. มีแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ยาวนาน
(2) โน๊ตบุ๊ก (Net Book) มีหน้าจอขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก คือมีขนาด
ประมาณ 8.9-11.6 นิ้ว มีความหนาประมาณ 1 นิ้ว เหมาะสมกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากกว่าใช้งานทั่วไป และไม่มีซีดีรอม
3) แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ (Tablet Computer) เรียกสั้นๆว่า แท็บเล็ตพีซี เป็น
คอมพิวเตอร์ที่รวมการท างานทุกอย่างไว้ในจอสัมผัสโดยใช้ปากกาสไดลัส ปากกาดิจิตอล หรือปลายนิ้วเป็นอุปกรณ์อินพุตพื้นฐาน แทนการใช้คีย์บอร์ดและเมาส์ แต่จะมีอยู่หรือไม่มีก็ได้ มีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน
แท็บเล็ต เป็นเทคโนโลยีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่คุณสามารถพกติดตัวได้โดยวัตถุประสงค์
ของเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ใช้เพื่อทดแทนสมุดหรือกระดาษ
รูป 1.6 แสดงเครื่องแท็ปเล็ต
พัฒนาให้มีความสามารถใกล้เคียงเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค มีขนาดเล็กสามารถถือด้วยมือเดียว และน้ำหนักเบาโดยมี 3 รูปแบบคือ
(1) Convertible Tablet มีโครงสร้างเดียวกับคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก แต่ตัวจอภาพสามารถ
หมุนแล้วพับซ้อนบนคีย์บอร์ดหรือสามารถแยกส่วนได้
รูป 1.7 แสดงตัวอย่าง Convertible Tablet
(2) State Tablet จะเป็นแท็บเล็ตที่มีเพียงหน้าจอคล้ายกับกระดานชนวน จะมีคีย์บอร์ดใน
ตัวแต่บางยี่ห้อสามารถใช้ปากกาเป็นอุปกรณ์อินพุตแทนคีย์บอร์ด
รูป 1.8 แสดงตัวอย่าง State Tablet
(3) อุปกรณ์พกพา (Personal Digital Assistant :PDA) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพา
ขนาดเล็กสามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ด้วยระบบไร้สายสามารถในการเพิ่มเติมแอพพลิเคชั่นเพื่อให้ใช้งานด้านอื่น ๆ ได้ เป็นอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับผู้คนยุคใหม่และได้รับความนิยมมากขึ้น มีขนาดเล็กกกว่าคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก ปัจจุบันเลิกใช้งาน และมีการพัฒนาเป็นเครื่องโทรศัพท์มือถือที่มีจอกว้างขึ้น สามารถใส่ซิมเพื่อโทรศัพท์ได้ และใช้เป็นแท็บเล็ต เรียกว่า แฟบเล็ต
รูป 1.9 แสดงตัวอย่าง Personal Digital Assistant :PDA
แฟบเล็ต (อังกฤษ: Phablet ,/ˈfæblɪt/) เป็นสิ่งที่เรียกอุปกรณ์ที่อยู่ระหว่าง "มือถือ"
(Phone) กับ "แท็บเล็ต" (Tablet)[1]ซึ่งจะเป็นสมาร์ทโฟน ที่มีขนาดหน้าจอระหว่าง 5.1–7 นิ้ว (130–180 มม.) โดยแฟบเล็ตถูกสร้างออกมาเพื่อให้สามารถมีฟังก์ชันสำหรับทำงานระหว่างสมาร์ทโฟนกับแท็บเล็ต โดยแฟบเล็ต จะมีขนาดใหญ่กว่าสมาร์ทโฟนทั่วไป แต่จะเล็กกว่าแท็บเล็ตที่มีขนาดหน้าจอใหญ่กว่า ทำให้มีความสะดวกสบายในการพกพามากกว่าแท็บเล็ต แฟบเล็ตนั้นจะเหมาะสมกับการเข้าอินเทอร์เน็ต และการใช้สื่อมัลติมีเดียต่างๆ ซึ่งมีความเหมาะสมมากกว่าสมาร์ทโฟนปกติ แฟบเล็ตนั้นเริ่มมีมากขึ้นในยุคปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ในชุดของ กาแลคซี โน้ต โดย ซัมซุง ซึ่งซอฟต์แวร์ออกแบบมาสำหรับการใช้ปากกาสไตลัส ในการเขียนหรือวาด แฟบเล็ตที่ได้รับความนิยมมากที่สุดตั้งแต่การเปิดตัวคือ กาแลคซีโน้ต โดยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ไอเอชเอส ได้รายงานว่า แฟบเล็ตรุ่นนี้ถูกขายไปแล้ว 25.6 ล้านเครื่องในปี พ.ศ. 2555 และคาดว่าจะเติบโตเป็น 60.4 ล้านเครื่องในปี พ.ศ. 2556 และ 146 ล้านเครื่อง ในปี พ.ศ. 2559
รูป 1.10 แสดงตัวอย่างแฟบเล็ต
แฟบเล็ตนั้นในช่วงแรกถูกออกแบบมาเพื่อตลาดเอเชียที่ผู้บริโภคไม่ต้องการสมาร์ทโฟนที่มีขนาดเล็กเกินไปและแท็บเล็ตที่มีขนาดใหญ่เกินไป เหมือนกับผู้บริโภคในทวีปอเมริกาเหนืออย่างไรก็ตาม แฟบเล็ตก็ได้ประสบความส าเร็จในทวีปอเมริกาเหนือด้วย ซึ่งระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ตั้งแต่รุ่น 4.0 เป็นต้นมา มีคุณลักษณะเหมาะกับอุปกรณ์ที่มีขนาดหน้าจอใหญ่ เช่นเดียวกับหน้าจอขนาดเล็ก ส่วนผู้ใช้ที่มีอายุมาก ก็ต้องการอุปกรณ์ที่มีขนาดจอใหญ่ๆเช่นกัน เนื่องจากปัญหาด้านสายตา ขณะที่ผู้ผลิตในปัจจุบันก็ผลิตแฟบเล็ตที่มีขนาดหน้าจอ 5.1 ถึง 7 นิ้วมากขึ้น ส่วนทางด้านแอ็ปเปิล (ในยุคของ สตีฟ จ็อบส์) ปฏิเสธที่จะผลิตอุปกรณ์ที่มีหน้าจอใหญ่กว่า ไอโฟน ที่มีขนาดหน้าจอ 3.5 นิ้ว (89 มม.) และเล็กกว่า ไอแพด ที่มีขนาดหน้าจอ 9.7 นิ้ว (250 มม.) ในปี พ.ศ. 2555
1.2.6 ไมโครคอนโทลเลอร์ (Microcontrollers)
ไมโครคอนโทรลเลอร์ (อังกฤษ: microcontroller มักย่อว่า µC, uC หรือ MCU) คือ อุปกรณ์ควบคุมขนาดเล็ก ซึ่งบรรจุความสามารถที่คล้ายคลึงกับระบบคอมพิวเตอร์ ในไมโครคอนโทรลเลอร์ได้รวมเอาซีพียู, หน่วยความจำและพอร์ต ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกัน โดยทำการบรรจุเข้าไว้ในตัวถังเดียวกัน
ไมโครคอนโทรลเลอร์ เป็นคอมพิวเตอร์แบบฝังตัว(Embedded Computers) ออกแบบมา
เป็นพิเศษ มีขนาดเล็ก ป้อนโปรแกรมเพื่อให้ทำงานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะสามารถสังเกตได้จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปในปัจจุบัน มักมีเป็นส่วนประกอบแทบทั้งสิ้น เช่น สมาร์ททีวี เครื่องไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า และตู้เย็น เป็นต้น
รูป 1.11 แสดงตัวอย่างสมาร์ททีวี
1.3 อุปกรณ์โทรคมนาคม (Telecommunications)
โทรคมนาคม (อังกฤษ: Telecommunication) หมายถึงการสื่อสารระยะไกล โดยใช้เทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านทางสัญญาณไฟฟ้า หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเนื่องจากเทคโนโลยีที่แตกต่างกันจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับคำนี้ จึงมักใช้ในรูปพหูพจน์ เช่น Telecommunicationsเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมในช่วงต้นประกอบด้วยสัญญาณภาพ เช่น ไฟสัญญาณ,สัญญาณควัน, โทรเลข, สัญญาณธงและ เครื่องส่งสัญญาณด้วยกระจกสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ตัวอย่างอื่นๆ ของการสื่อสารโทรคมนาคมก่อนช่วงที่ทันสมัยได่แก่ ข้อความเสียง เช่นกลอง, แตร และนกหวีด เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมด้วยไฟฟ้าและแม่เหล็กไฟฟ้าได้แก่โทรเลข, โทรศัพท์และโทรพิมพ์, เครือข่าย, วิทยุ, เครื่องส่งไมโครเวฟ, ใยแก้วนำแสง, ดาวเทียมสื่อสารและอินเทอร์เน็ตโดยอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการส่งสัญญาณไปในอวกาศ เช่น การส่งคลื่นวิทยุ โทรทัศน์ และการส่งคลื่นไมโครเวฟ และการส่งสัญญาณดวงเดียว โดยจุดที่ส่งข่าวสารกับจุดรับอยู่ห่างกัน และข่าวสารที่ส่งจะเฉพาะเจาะจงผู้รับคนใดคนหนึ่ง หรือการส่งแบบผู้รับทั่วไปก็ได้
โทรคมนาคมเป็นการใช้สื่ออุปกรณ์รับไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร และโทรพิมพ์ เพื่อการสื่อสารในระยะไกล โดยอุปกรณ์เหล่านี้จะแปลงข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ เช่น เสียงและภาพไปเป็นสัญญาณไฟฟ้า สัญญาณเหล่านี้จะถูกส่งไปโดยสื่อ เช่น สายโทรศัพท์ หรือคลื่นวิทยุเมื่อสัญญาณไปถึงจุดปลายทาง อุปกรณ์ด้านผู้รับจะรับและแปลงกลับสัญญาณไฟฟ้าเหลานี้ให้เป็นข้อมูลที่สามารถเข้าใจได้ เช่นเป็นเสียงทางโทรศัพท์ หรือภาพบนจอโทรทัศน์ หรือข้อความและภาพบนจอคอมพิวเตอร์ โทรคมนาคมจะช่วยให้บุคคลสามารถติดต่อสารกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดๆ ในโลกในรูปแบบของข่าวสาร ความรู้ และความบันเทิง
1.4 องค์ประกอบของระบบโทรคมนาคม
โทรคมนาคม (Telecommunications) หมายถึง การสื่อสารข้อมูลระยะทางไกลในรูปแบบสัญญาณอีเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในอดีตระบบโทรคมนาคมให้บริการในรูปแบบของสัญญาณเสียงผ่านสายโทรศัพท์ที่เรียกกันว่าสัญญาณในระบบ อนาลอก (Analog Signal) แต่ในปัจจุบันสัญญาณโทรคมนาคมกำลังกลายเป็นการถ่ายทอดสัญญาณในรูปแบบดิจิตอล (Digital Signal) ระบบโทรคมนาคม (Telecommunications Systems) คือระบบที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์จำนวนหนึ่งที่สามารถทำงานร่วมกันและถูกจัดไว้ส าหรับการสื่อสารข้อมูลจากสถานที่แห่งหนึ่งไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่งซึ่งสามารถถ่ายทอดข้อความ ภาพกราฟฟิก เสียงสนทนา และวิดีทัศน์ได้ มีรายละเอียดของโครงสร้างส่วนประกอบดังนี้
1.4.1 เครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือเปลี่ยนปริมาณใดให้เป็นไฟฟ้า (Transducer) เช่น
โทรศัพท์ หรือไมโครโฟน เป็นต้น
รูป 1.11 แสดงตัวอย่างเครื่องโทรศัพท์รุ่นต่าง ๆ
รูป 1.13 แสดงไมโครโฟนรุ่นต่าง ๆ
1.4.2 เครื่องเทอร์มินอลสำหรับการรับข้อมูลหรือแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์
รูป 1.14 แสดงการส่งและรับสัญญาณโทรศัพท์
1.4.3 อุปกรณ์ประมวลผลการสื่อสาร (Transmitter) ทำหน้าที่แปรรูปสัญญาณไฟฟ้าให้
เหมาะสมกับช่องสัญญาณ เช่น โมเด็ม (MODEM) มัลติเพล็กเซอร์ (multiplexer) แอมพลิไฟเออร์(Amplifier) และดาวเทียม (Satellite) ดำเนินการได้ทั้งรับและส่งข้อมูล
รูป 1.15 แสดงการประมวลผลของอุปกรณ์ส่งและรับสัญญาณ
รูป 1.16 แสดงการประมวลผลการส่งสัญญาณดาวเทียมของสองสถานี
1.4.4 ช่องทางสื่อสาร (Transmission Channel) หมายถึงการเชื่อมต่อรูปแบบใดๆ เช่น
สายโทรศัพท์ ใยแก้วน าแสง สายโคแอกเซียล หรือแม้แต่การสื่อสารแบบไร้สาย
รูป 1.17 แสดงการสื่อสารของระบบสัญญาณเสียงและสัญญาณภาพของระบบทีวีแบบอนาล็อก
1.4.5 ซอฟท์แวร์การสื่อสารซึ่งท าหน้าที่ควบคุมกิจกรรมการรับส่งข้อมูลและอ านวยความสะดวก
ในการสื่อสาร
รูป 1.18 แสดงตัวอย่างโปรแกรมส าหรับการสื่อสารที่ได้รับความนิยม
1.5 หน้าที่ของระบบโทรคมนาคม
ระบบโทรคมนาคม ทำหน้าที่ในการส่งและรับข้อมูลระหว่างจุดสองจุด ได้แก่ ผู้ส่งข่าวสาร (Sender) และ ผู้รับข่าวสาร (Receiver) ดำเนินการจัดการลำเลียงข้อมูลผ่านเส้นทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดจัดการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่จะส่งและรับเข้ามา สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลให้ทั้งสองฝ่ายสามารถเข้าใจได้ตรงกันซึ่งที่กล่าวมานี้ส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวจัดการในระบบโทรคมนาคมส่วนใหญ่ใช้อุปกรณ์การรับส่งข้อมูลข่าวสารต่างชนิดต่างยี่ห้อกันแต่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้เพราะใช้ชุดคำสั่งมาตรฐานชุดเดียวกันกฎเกณฑ์มาตรฐานในการสื่อสารนี้เราเรียกว่า“โปรโตคอล (Protocol)” อุปกรณ์แต่ละชนิดในเครือข่ายเดียวกันต้องใช้โปรโตคอลอย่างเดียวกัน จึงจะสามารถสื่อสารถึงกันและกันได้ หน้าที่พื้นฐานของโปรโตคอล คือ การท าความรู้จักกับ
อุปกรณ์ตัวอื่นที่อยู่ในเส้นทางการถ่ายทอดข้อมูล การตกลงเงื่อนไขในการรับส่งข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแก้ไขปัญหาข้อมูลที่เกิดการผิดพลาดขณะส่งโปรโตคอลที่รู้จักกันมาก ได้แก่ โปรโตคอลในระบบเครือข่ายอินเตอร์เนต เช่น Internet Protocol , TCP/IP
1.6 ประเภทของสัญญาณในระบบโทรคมนาคม
1.6.1 ประเภทของข้อมูลส าหรับการสื่อสารในระบบโทรคมนาคม สามารถแยกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1) ประเภทเสียง เช่น เสียงพูด เสียงดนตรี
2) ประเภทตัวอักษร เช่นอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์
3) ประเภทภาพ ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว
4) ประเภทรวม เป็นการสื่อสารทั้งตัวอักขระ ภาพและเสียง
1.6.2 ประเภทของข้อมูลจำแนกตามสัญญาณที่ส่งออกโดยจะมีการส่งสัญญานข้อมูลทั้ง 4 ปรพเภทด้านบนและนำมาแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่าสัญญาณข้อมูล (Data Signal) ทำให้สามารถส่งผ่านสื่อไปได้ในระยะไกลด้วยความเร็วสูง ข้อมูลจะถูกแปลงเป็นสัญญาณข้อมูลได้ 2 ประเภทคือ
1) สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) หมายถึง สัญญาณข้อมูลแบบต่อเนื่อง มีขนาดของข้อมูลไม่คงที่ มีลักษณะเป็นเส้นโค้งต่อเนื่องกันไป โดยสัญญาณอนาล็อกจะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เช่น สัญญาณในสายโทรศัพท์ เป็นต้น
รูป 1.19 แสดงตัวอย่างสัญญาณอนาล็อก
รูป 1.20 แสดงตัวอย่างการส่งสัญญาณทีวีแบบอนาล็อก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น